GM
ฉบับที่ 360 เดือนมิถุนายน 2551
บริษัท จีเอ็ม มัลติมีเดีย จำกัด(มหาชน)
Cover เวียร์ – ศุกลวัฒน์ คณารศ
Interview เสวนาครบรสแบบโต๊ะจีนนครปฐม รศ.ดร. วรากรณ์ สามโกเศศ คนที่ติดตามข่าวสารบ้านเมือง แวดวงเศรษฐกิจ คนที่เป็นนักอ่าน หรือแม้แต่คนที่เกี่ยวข้องกับมหา-วิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์น้อยที่สุดนั้น ต่างรู้จัก รศ.ดร. วรากรณ์ สามโกเศศ เป็นอย่างดี
สำหรับคนที่ไม่รู้จักอาจารย์วรากรณ์ GM ขออนุญาตทำหน้าที่แนะนำคร่าวๆ
ชื่อของ รศ.ดร. วรากรณ์ สาม-โกเศศ เป็นที่รู้จักกันในวงวิชาการมานานในฐานะนักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ ผู้ออกมาให้ความเห็นในประเด็นเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อสังคมตามสื่อต่างๆ มาโดยตลอดอีกทั้งยังเคยดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ แต่ที่ทำให้ผู้คนในสังคมรู้จัก รศ.ดร. วรากรณ์ อย่างกว้างขวาง เห็นจะมาจากบทความในคอลัมน์ ‘อาหารสมอง’ ที่ตีพิมพ์ในมติชนรายสัปดาห์ ภายใต้นามปากกา‘วรากรณ์ ตรีเศศ’ อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ พ.ศ. 2538
Feature ยอมรับเสียเถอะว่าคุณ...ชอบจูบ
ช่วงที่กำลังทุลักทุเลอยู่กับจูบแรก มีสักเสี้ยววินาทีที่คุณสงสัยไหมครับว่าทำไมคน 2 คนถึงได้ตกลงปลงใจประกบปากเพื่อจูบและแลกน้ำลายกัน ก่อนที่จะพบว่ามันช่างร้อนแรงและดีอะไรอย่างนี้ !
ในตอนหนึ่งของบทความ The Kiss : The origin, chemistry, physiology and cultural significance of the kiss ของ bbc.co.uk ได้อธิบายเกี่ยวกับการจูบไว้ว่า หากย้อนกลับไปที่จุดเริ่มต้นของการจูบ นักมานุษยวิทยาหลายคนเชื่อว่าการจูบเริ่มพัฒนามาจากการดมหรือถูจมูกเพราะถูกดึงดูดจากกลิ่นเคมีทางเพศ สัตว์ชนิดต่างๆ จึงทำอากัปกิริยาเหมือนกับว่าพวกมันชอบจูบอย่างคนอย่างยากที่จะปฏิเสธ เช่น การดมและเลียขนของแมวและสุนัข การถูจมูกกันของตุ่น การสัมผัสจมูกกันเบาๆของเต่า นกที่ใช้จะงอยปากคาบหรือช้อนปากของอีกตัวในตอนเช้า และการแตะจมูกกันอย่างน่ารักน่าชังของโลมา
กลับมาที่จูบของคน ลองมาดูกันสิครับว่าใครต่อใครเขาพอใจที่จะจูบกันบ้าง
เริ่มกันที่จูบอันซาบซึ้งตรึงใจของโรมิโอกับจูเลียตในบทละครของเช็กสเปียร์ จูบของ แบรด พิตต์ กับสาวริมฝีปากเซ็กซี่อย่าง แองเจลิน่า โจลี่ ที่ทรมานใจทั้งหนุ่มๆ และสาวๆ จูบระหว่างเด็กชาย 2 คนในภาพยนตร์รักแห่งสยามที่สร้างความตื่นเต้นให้กับวงการภาพยนตร์บ้านเรา จูบอีกหลายจูบในประวัติศาสตร์ รวมทั้งจูบแบบเลสเบี้ยนของมาดอนน่าบนเวที
เพราะฉะนั้น ยอมรับมาเถอะครับ ถ้าคุณจูบแล้วรู้สึกดี เพราะใครๆ เขาก็ชอบจูบเหมือนกัน
Roaming เยี่ยมสนามแห่งความสุนทร สนามแห่งความสุนทรที่ว่าก็คือสนามฟุตบอลสีเขียวๆ นี่ล่ะครับ
ที่เรียกว่าเป็นสนามแห่งความสุนทร ก็เพราะมันเป็นหนึ่งอัครสถานแห่งความบันเทิงของคนอังกฤษมาตั้งนานนม ว่ากันว่าความบันเทิงหลักๆ ของคนอังกฤษทุกวันหยุดสุดสัปดาห์นั้น มีอยู่ 2 อย่าง หนึ่งก็คือโรงละคร และสองคือฟุตบอล
ใช่แล้วครับ คนอังกฤษนั้นบ้าฟุตบอล (ของตัว) ไม่แพ้คนไทยที่บ้าฟุตบอล (ของคนอื่น) ในแบบที่คนเตะฟุตบอลเหมือนเด็กอนุบาลอย่างผมคาดไม่ถึง
นี่ถ้าหากไม่ได้ไปเห็นด้วยตาตัวเองคงไม่เชื่อเหมือนกันว่า
ผู้ดีพวกนี้มันบ้าฟุตบอลกันจริงๆ ว่ากันว่าหากคิดสรตะต่อปีที่คนอังกฤษจ่ายเงินเพื่อฟุตบอลแล้วนั้น มีจำนวนเงินสูงกว่าชาติอื่นๆ ในโลก ไม่ว่าจะสเปน อิตาลี หรือว่าจะเป็นบราซิล
คนอังกฤษไปดูฟุตบอลไม่แตกต่างจากการไปดูมหรสพ เหมือนกับคนไทยไปดูมวย มันเป็นการแสดงที่สมจริงสมจัง ครบรส ทั้งสนุก แถมได้พนันขันต่อกันอีกด้วย คนเชียร์ฟุตบอลที่อังกฤษก็ไม่แตกต่างกัน ธุรกิจฟุตบอลจึงทำกำรี้กำไรได้มากโขอยู่ ไม่อย่างนั้นคงไม่ลงทุนทำสนามกันเป็นหมื่นล้านบาท เพื่อดูคน 22 คนเตะบอลลูกเดียว แต่ว่าไปแล้วคนไทยบางคนก็รักฟุตบอลไม่แพ้กันนะครับ เพราะลงทุนบินข้ามน้ำข้ามทะเลไปซื้อทีมฟุตบอลเป็นของตัวเองถึงที่โน่น ถ้าไม่รักไม่ชอบคงไม่ทำขนาดนี้ ฉะนั้นแล้วทางเดียวที่จะพิสูจน์ความบ้าฟุตบอลของคนอังกฤษที่ดีที่สุดก็คือต้องบินไปดูให้เห็นกับตา
การเดินทางมาอังกฤษเพื่อพิสูจน์ความบ้าฟุตบอล ก็ต้องมากับคนที่บ้าฟุตบอลพอกัน ผู้ร่วมคณะของเราคราวนี้จึงเป็นผู้โชคดีจากการร่วมเล่นเกมในเว็บไซต์ของฮันเดรด ไพเพอร์ส ซึ่งขั้นตอนกว่าจะได้มาก็ไม่ใช่ง่ายๆ เพราะคุณต้องเข้าไปเล่นเกมตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ จากนั้นก็ต้องรอลุ้นว่าการสุ่มผู้โชคดี 4 คนนั้นโอกาสจะตกเป็นของคุณหรือไม่ โดยเราจะเดินทางไปเยี่ยมใน 4 สนามกับอีก 3 แมตช์การแข่งขันระดับบิ๊กที่อังกฤษกัน แมตช์ไหนบ้างหรือครับ ตามอ่านกันได้เลย
https://www.facebook.com/teeneedotcom