ดารานักการเมือง : อริสมันต์ พงษ์เรืองรอง


ประวัติ

อริสมันต์ พงศ์เรืองรอง (เดิมชื่อ ศักดา พงศ์เรืองรอง) มีชื่อเล่นว่า กี้ เมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2507 ที่ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ในครอบครัวชาวไทยเชื้อสายฮินดู โดยมีพ่อและแม่เป็นพระเอกและนางเอกลิเกมาก่อน มีน้องชายอยู่ 2 คนคือ สุรเกียรติ พงศ์เรืองรอง และ อาชาครินต์ พงศ์เรืองรอง (ซึ่งได้เป็นนักร้องในสังกัดอาร์.เอส. โปรโมชั่นอยู่ช่วงหนึ่งด้วย จากการสนับสนุนของอริสมันต์ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากผลงานคล้ายกับอริสมันต์มาก)

การศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจาก โรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย อ.บ้านโป่ง ราชบุรี มัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนวัดบวรนิเวศ ปริญญาตรีจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ปริญญาโทรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อริสมันต์เมื่อเดินทางเข้ากรุงเทพ ฯได้ขายกางเกงยีนส์อยู่หน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหงและอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เริ่มมีชื่อเสียงมาจากออกอัลบั้มชุดแรกกับบริษัทอาร์.เอส. โปรโมชั่น ด้วยการชักชวนของอิทธิ พลางกูร ในชุด "ความหมายของผู้ชายคนหนึ่ง" ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2532 ก็โด่งดังทันทีจากเพลง ไม่เจียม, เธอลำเอียง เพราะมีรูปแบบการร้องที่ไม่เหมือนใคร และไม่มีใครเหมือนด้วยเสียงที่กลั้วอยู่ในลำคอเหมือนออกเสียงไม่ชัด แต่เป็นเอกลักษณ์ส่วนตัว ซึ่งถูกเรียกว่าอมลูกอมฮอลล์ในขณะร้องเพลง จนได้รับฉายาว่า นักร้องเสียงอมฮอลล์ ประกอบกับเนื้อหาของเพลงที่ใช้ภาษาที่แปลกออกไปจากเพลงทั่วไป แต่มีความหมายเฉพาะตัวและสร้างความรู้สึกโรแมนติกได้อย่างประหลาด ซึ่งเจ้าตัวจะเป็นผู้เขียนเนื้อเพลงเอง

จากนั้นอริสมันต์ก็ได้ออกอัลบั้มตามมาอีกหลายชุด เช่น "เจตนายังเหมือนเดิม", "ฝันมีชีวิต", "เวทีนี้ไม่มีพี่เลี้ยง" เป็นต้น ซึ่งประสบความสำเร็จทุกชุดและมีหลายบทเพลงที่เป็นที่รู้จักของแฟนเพลงตราบจนปัจจุบัน เช่น ยอมยกธง, ทัดทาน, ใจไม่ด้านพอ, เวทีนี้ไม่มีพี่เลี้ยง, คนข้างหลัง, รักเธอเสมอใจ เป็นต้น ซึ่งทุกชุดมีอิทธิ พลางกูร เป็นโปรดิวเซอร์ และเนื้อเพลงทั้งหมดอริสมันต์จะเป็นผู้เขียนเอง


และในกลางปี พ.ศ. 2536 ได้แสดงละครโทรทัศน์ทางช่อง 9 ในสังกัดอาร์.เอส. โปรโมชั่น ออกอากาศในวันเสาร์-อาทิตย์ช่วงบ่าย โดยอริสมันต์เล่นเป็นตัวเอกในเรื่อง ซึ่งเป็นละครเรื่องแรกและเรื่องเดียวของอริสมันต์ตราบจนทุกวันนี้

ปัจจุบัน อริสมันต์มีบริษัทรับเหมาก่อสร้างของครอบครัว ชื่อ พงศ์เรืองรองก่อสร้าง ที่ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2538 ชีวิตครอบครัว อริสมันต์สมรสกับนางระพีพรรณ พงศ์เรืองรอง หญิงชาวขอนแก่น ทั้งคู่มีบุตรสาวด้วยกันทั้งหมด 1 คน




งานการเมือง

 พฤษภาทมิฬ
 
อริสมันต์ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ
อริสมันต์ แถลงข่าวหลังสามารถบุกเข้าไปในโรงแรมรอยัล คลีฟ บีช รีสอร์ท และขัดขวางการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน เมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2552 ในการชุมนุมของ นปช. พ.ศ. 2552
อริสมันต์หลบหนีการจับกุมของตำรวจ เมื่อเช้าวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2553 ที่โรงแรมเอส.ซี. ปาร์ค รามคำแหง ในการชุมนุมของ นปช. พ.ศ. 2553ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 อริสมันต์เป็นหนึ่งในผู้ที่เข้าร่วมชุมนุมในเหตุการณ์ ถึงขั้นที่ขึ้นไปปราศรัยและร้องเพลงสนับสนุนผู้ชุมนุม ซึ่งได้รับคำวิพากษ์วิจารณ์ทางสังคมบางส่วนว่า ทำไปเพราะอยากดัง หรือเพื่อโปรโมตอัลบั้ม ทั้งที่แท้จริงแล้วการกระทำดังกล่าวไม่เอื้อประโยชน์ต่อการขายเทปมากนัก และหลังจากนั้นเพียงหนึ่งเดือน อัลบั้มชุดที่ 4 "สงสัยใจสะเทิ้น" ก็ออกมา แต่เจ้าตัวปฏิเสธว่าไม่ใช่และยืนยันว่าชอบการเมืองมานานแล้ว

 พรรคพลังธรรม
ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 อริสมันต์ พงศ์เรืองรอง ได้ลงเลือกตั้งเป็นครั้งแรกโดยสังกัดพรรคพลังธรรม ในพื้นที่กรุงเทพ ฯ เขตบางกอกน้อย และประสบความสำเร็จ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นสมัยแรก แต่การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 อริสมันต์สังกัดอยู่ในพรรคเดิมและพื้นที่เดิม กลับไม่ได้รับการเลือกตั้ง จากนั้นในปี พ.ศ. 2541 สมาชิกพรรคพลังธรรมหลายคนได้ย้ายไปสังกัดพรรคไทยรักไทย อริสมันต์ก็เป็นคนหนึ่งในจำนวนสมาชิกที่ย้ายไปด้วย และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2548 อริสมันต์ก็ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคไทยรักไทยในแบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 56 ของพรรค และมีบทบาทเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (นายประชา มาลีนนท์) และในวิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2549 อริสมันต์ได้แต่งและร้องเพลงพิเศษที่มีชื่อว่า คนของแผ่นดิน ที่มีเนื้อหาสนับสนุน พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร


 




 นปช.
ในคืนวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2550 อริสมันต์ได้ร่วมกับกลุ่มผู้สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กลุ่มพีทีวี และ อดีต ส.ส.ไทยรักไทย ที่รวมตัวยกันในนาม แนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) ที่ท้องสนามหลวง เคลื่อนย้ายขบวนฝ่าแนวป้องกันของตำรวจไปยังหน้ากองบัญชาการกองทัพบก ถนนราชดำเนิน เมื่อเวลาประมาณ 22.00 น อีกทั้งในคืนวันที่ 18 มิถุนายน ก็ได้ขึ้นรถปราศรัยโดยด่าว่าทหาร และตำรวจที่รักษาความสงบอยู่ด้วย


ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2550 อริสมันต์ลงสมัคร ส.ส. กรุงเทพมหานคร ในเขต 12 (บางพลัด บางกอกน้อย ตลิ่งชัน ทวีวัฒนา) สังกัดพรรคพลังประชาชน แต่ไม่ได้รับเลือก ต่อมาได้เข้าร่วมกับแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านผด็จการแห่งชาติ (นปช.) โดยได้ปราศรัยวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะและประธานองคมนตรี


ในเหตุการณ์ก่อความไม่สงบของกลุ่ม นปช. เมษายน พ.ศ. 2552 อริสมันต์เป็นแกนนำผู้ชุมนุมที่เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี โดยนำผู้ชุมนุมทั้งจากจังหวัดใกล้เคียงและที่สมทบจากกรุงเทพฯ เพื่อปิดล้อมการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนกับคู่เจรจา โดยเมื่อวันที่ 10 เมษายน ได้เข้าปิดล้อมหน้าโรงแรมรอยัล คลิฟ บีช รีสอร์ท พัทยา เพื่อเข้ายื่นหนังสือกับตัวแทนอาเซียน และในวันต่อมาได้กลับมาชุมนุมหน้าโรงแรมอีกครั้ง เพื่อกดดันรัฐบาลให้รับผิดชอบต่อเหตุการณ์ปะทะกับกลุ่มคนสวมเสื้อสีน้ำเงินในช่วงเช้า และนำกำลังหลายร้อยคน บุกเข้าในสถานที่ประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ทำให้ความปลอดภัยของผู้นำมิตรประเทศมีความเสี่ยงสูงมาก จนกระทั่งประเทศไทยในฐานะเจ้าภาพจัดการประชุมจำเป็นต้องขอเลื่อนการประชุมออกไปกลางคันโดยไม่มีกำหนด ส่งผลให้ผู้นำประเทศต่างๆต้องอพยพออกจากสถานที่ประชุม และบินกลับประเทศตนเองโดยปลอดภัยทุกท่าน หลังจากนั้นอริสมันต์ได้ถูกตำรวจจับกุมตัวที่บ้านพักในเขตตลิ่งชันขณะพยายามปีนหน้าต่างหลบหนี และถูกควบคุมด้วยเฮลิคอปเตอร์ไปยังจังหวัดราชบุรี แต่ต่อมาศาลอนุมัติให้ประกันตัวไปด้วยวงเงิน 5 แสนบาท และเมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2553 พนักงานสอบสวนได้ยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อขออนุมัติหมายจับนายอริสมันต์ในข้อหา กระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใด อันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็น หรือติชมโดยสุจริต เพื่อให้เกิดความปั่นป่วน หรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่ก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร หรือเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 ซึ่งศาลพิจารณาแล้วได้อนุมัติหมายจับนายอริสมันต์

ในการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน พ.ศ. 2553 ในวันที่ 7 เมษายน นายอริสมันต์เป็นผู้นำผู้ชุมนุมบุกเข้าไปในอาคารรัฐสภาระหว่างมีการประชุมสภากันอยู่ โดยที่แกนนำหลักทั้ง 3 คือ นายวีระ มุสิกพงศ์, นายณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ และนายจตุพร พรหมพันธ์ ไม่ได้มีมติให้ทำเช่นนั้น ซึ่งต่อมาทางรัฐบาลก็ได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีเหตุร้ายแรงในพื้นที่กรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียงตามมา

ต่อมาในเช้าวันที่ 16 เมษายน นายอริสมันต์พร้อมกับแกนนำ นปช.คนอื่น ๆ ซึ่งมีหมายจับจากศาลอาญา  เช่น นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ ต้องหลบหนีการจับกุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจขณะที่พักผ่อนกันอยู่ในโรงแรมเอส.ซี.ปาร์ค ย่านรามคำแหง โดยที่นายอริสมันต์ต้องโหนตัวกับเชือกลงมาจากหน้าต่างห้องพักชั้น 3[9]

ในช่วงเวลาที่การก่อเหตุการความวุ่นวาย และการก่อจราจลในกรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 14 - 19 พฤษภาคม ใกล้จบลง เมื่อแกนนำเช่น นายจตุพร พรหมพันธุ์ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ และแกนนำเสื้อแดงรวม 7 คน ได้ประกาศสลายการชุมนุม และขอเข้ามอบตัวต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้มีข่าวว่านายอริสมันต์ ได้หลบหนีไปจากแยกราชประสงค์ ตั้งแต่ช่วงเช้าเมื่อสถานการณ์ของ นปช. เริ่มเสียเปรียบฝ่ายทหาร โดยในช่วงบ่ายของวันที่ 19 พฤษภาคม โดยมีรายงานข่าวเบื้องต้นว่า นายอริสมันต์ ที่หลบหนีไป ถูกจับได้ที่สถานีรถไฟฟ้าเพลินจิต ขณะกำลังหาทางหลบหนี [10] แต่ต่อมาได้มีการยืนยันว่าข่าวนี้ไม่เป็นความจริง




ผลงาน
 
หน้าปกอัลบั้ม เจตนายังเหมือนเดิม
หน้าปกอัลบั้ม เวทีนี้ไม่มีพี่เลี้ยง
หน้าปกอัลบั้ม ก่อกองทราย
หน้าปกอัลบั้ม รักเธอตลอดเวลา 

 อัลบั้มเดี่ยว
ความหมายของผู้ชายคนหนึ่ง (มี.ค. 2532)
ความหมายที่ 2 เจตนายังเหมือนเดิม (ม.ค. 2533)
ความหมายพิเศษ ฝันมีชีวิต (มิ.ย. 2533) (อัลบั้มพิเศษ)
ความหมายที่ 3 เวทีนี้ไม่มีพี่เลี้ยง (พ.ศ. 2534)
ความหมายพิเศษ ผู้ชายฟ้าครามและความรัก (พ.ศ. 2534) (อัลบั้มรวมฮิต)
ความหมายที่ 4 สงสัยใจสะเทิ้น (มิ.ย. 2535)
ความหมายพิเศษ ก่อกองทราย (พ.ศ. 2535) (อัลบั้มรวมฮิต)
รักเธอเสมอใจ (พ.ศ. 2536)
รางวัลแห่งรัก (พ.ศ. 2537) (อัลบั้มพิเศษ)
รักเธอไม่รู้จบ (พ.ศ. 2538)
รักเธอตลอดเวลา (พ.ศ. 2540)
สัญญาจากหัวใจ (พ.ศ. 2541)
กังวานทุ่ง (พ.ศ. 2542) (อัลบั้มลูกทุ่ง)
รักในโฟนอิน (พ.ศ. 2552) (อัลบั้มพิเศษเพื่อช่วยเหลือนปช.) 

 อัลบั้มรวม
อาร์เอส อันปลั๊ก ดนตรีนอกเวลา (พ.ศ. 2537)
คอนเสิร์ตครั้งสำคัญ
เข้าข่ายใจสะเทิ้น 8 สิงหาคม พ.ศ. 2535 เอ็มบีเค ฮอลล์ มาบุญครองเซนเตอร์
อริสมันต์กับคอนเสิร์ตไม่หนักหัวใจ พ.ศ. 2536 เอ็มบีเค ฮอลล์ มาบุญครองเซนเตอร์
เวทีนี้ยังมีพี่เลี้ยง 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 อินดอร์ สเตเดี้ยม หัวหมาก (แต่คอนเสิร์ตได้แสดงไปก่อนหนึ่งวัน คือในวันที่ 23 กรกฎาคม)
ละครโทรทัศน์
พิศวงพิศวาส



ขอบคุณข้อมูลจาก
วิกิพีเดีย


เครดิต :
เครดิต : ที่นี่ดอทคอม บันเทิงดารา


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์