การเป็นภรรยาขุนนางที่มีตำแหน่งสุง ทำให้ มารี กีมาร์ ต้องต้อนรับแขกที่เดินทางมาเป็นพระราชอาคันตุกะ และแขกในหน้าที่ราชการของสามี ต้องตกแต่งบ้านเรือนให้สมฐานะแบบตะวันตก ทำให้กลายเป็นผู้มีความรู้ในการปรุงอาหารหน้าที่การงานของ คอนแสตนตินฟอลคอน หรือออกญาวิชาเยนทร์ เจริญรุ่งเรืองอย่างมาก รวมทั้งทำการค้าควบคู่ไปด้วย และฟอลคอน ก็ให้ความเกรงอกเกรงใจ มารี กีมาร์ เป็นอย่างมาก
ก่อนแต่งงาน ฟอลคอน นับถือศาสนาโปรแตสแต้นท์ และยอมเปลี่ยนศาสนาเป็นคาธอลิค เพื่อหาทางใกล้ชิดราชทูตฝรั่งเศสซึ่งเป็นที่โปรดปรานของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ต่อมาฟอลคอน ได้รับตำแหน่งสมุหนายก อัครมหาเสนาบดี แต่ไม่กี่วันต่อมาก็ถูกจับข้อหากบฎพร้อมชาวคริสต์และชาวฝรั่งเศส ถูกเรียกตำแหน่งคืนและริบทรัพย์ (เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราชสิ้นพระชนม์และสมเด็จพระเพทราชาปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์)
มารี กีมาร์ บุตรชาย 2 คน ญาติ และคนในบ้านถูกจับและถูกโบยให้บอกที่ซ่อนสมบัติและถูกจองจำที่คอกม้า ครอบครัวของฟอลคอน ถูกลดฐานะเป็นทาส ฟอลคอนถูกประหารชีวิต มารี กีมาร์ ถูกนำกลับกรุงศรีอยุธยา และส่งไปเป็นคนรับใช้ในวัง
หลวงสรศักดิ์เกิดความพอใจ มารี กีมาร์ แต่ มารี กีมาร์ ไม่ยินยอม พาบุตรชายลอบหนีจากกรุงศรีอยุธยา ไปที่ป้อมบางกอกที่ตั้งของกองทหารฝรั่งเศสเพื่อขอให้ส่งตัวไปอยู่ฝรั่งเศส แต่หัวหน้ากองทหารฝรั่งเศสเห็นควรส่งตัวคืนมาที่กรุงศรีอยุธยา ซึ่งออกญาโกษาธิบดี (ปาน) ได้รับตัว มารี กีมาร์ กลับด้วยความเมตตา มารี กีมาร์ ถูกคุมขังอยู่ 2 ปี จึงได้รับการปลดปล่อย และให้ไปพักอาศัยอยู่ในค่ายโปรตุเกส มีหน้าที่ทำอาหารคาวหวานประเภทเครื่องกวนต่าง ๆ ส่งเข้าวังตามกำหนด มารี กีมาร์ จำต้องประดิษฐ์ คิดค้นตำรับปรุงอาหาร ชนิดใหม่ ๆ ตลอดเวลา
การถูกลดเป็นทาสนั้น มารี กีมาร์ ไม่ได้รับความเดือดร้อนนัก ยังมีเกียรติ และได้รับความยุติธรรมต่าง ๆ ยังได้รับเงินค่าหุ้นของฟอลคอนจากบริษัทฝรังเศส หลังจากที่ มารี กีมาร์ ร้องทุกข์ไปยังพระเจ้าหลุยส์ ที่ 14 ชีวิตของมารี กีมาร์ กลับฟื้นคืนดีได้อีกครั้งด้วยมีฝีมือในการปรุงอาหารคาวหวาน ได้เข้ารับราชการในพระราชวังตำแหน่งหัวหน้าห้องเครื่องต้น ดูแลเครื่องเงินเครื่องทองของหลวง เป็นหัวหน้าเก็บพระภูษาฉลองพระองค์และเก็บผลไม้ของเสวย มีพนักงานใต้บังคับบัญชา 2 พันคน มารี กีมาร์ ทำงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต เป็นที่ชื่นชมยกย่อง
ระหว่างรับราชการประจำห้องเครื่องต้นนี่เอง ที่ มารี กีมาร์ ได้สอนการทำขนมหวาน จำพวก ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ทองพลุ ทองโปร่ง ขนมผิงและอื่น ๆ ให้แก่ผู้ร่วมทำงาน ซึ่ง สาว ๆ เหล่านั้นได้นำมาถ่ายทอดต่อยังครอบครัวของตัวเอง และกระจายไปในหมู่คนไทย มาจนในปัจจุบัน
https://www.facebook.com/teeneedotcom