สุดบีบคั้นหัวใจภาพข่มขืนแม่ลูก!! ดราม่าสนั่น ด่า‘เต๋า-แทค’ สะเทือนใจเกิดจริงในสังคม (คลิป)
ขณะที่ สันต์ ศรีแก้วหล่อ ผู้กำกับละคร โพสต์ไอจีภาพในฉากข่มขืน พร้อมแคปชั่นว่า "#ล่า #ล่า2017 ผมอยากสื่อสารอะไรจากฉากข่มขืน -ความโหดร้ายที่ตัวละครหลักต้องเจอ
-อยากบอกน้องๆสาวๆให้ระวังตัวกับการใช้ชีวิต(ทุกเรื่อง) และความเลวร้ายของมนุษย์ไม่ได้วัดกันที่หน้าตา
-อยากบอกเด็กหนุ่มทั้งหลายที่สุ่มเสี่ยงจะต้องไปอยู่กับเพื่อนๆที่อาจจะชักชวนกันทำเรื่องแบบนี้ว่า ไม่ใช่เรื่องที่จะพิสูจน์ว่าถ้ากล้าทำแล้วคุณจะเจ๋ง ทำแล้วจะกลายเป็นตราบาปติดตัว ถูกผู้คนสาปแช่ง ถูกดำเนินคดี ถูกลงโทษและอาจถูกตามล้างแค้นเหมือนอย่างในละคร
ปล.ตอนทำฉากนี้ผมแค่นึกว่าไอ้เจ็ดคนนี้คือฝูงสัตว์ป่าที่รุมกินเหยื่อ!! หวานขมติชมกันได้ครับ"
ครั้งที่สอง สร้างเป็นละครโทรทัศน์เมื่อปี พ.ศ. 2537 ผลิตโดยบริษัท เอ็กแซ็กท์ จำกัด บทโทรทัศน์โดย สุพล วิเชียรฉาย, เอื้อพิลา, ฐา-นวดี สถิตยุทธการ กำกับการแสดงโดย สุพล วิเชียรฉาย โดยครั้งนี้ถือเป็นการพลิกบทบาททางการแสดงครั้งสำคัญของ สินจัย เปล่งพานิช จนคว้ารางวัลโทรทัศน์ทองคำสาขานำหญิงยอดเยี่ยมในปีนั้น และเป็นละครเรื่องแรกของ ด.ญ.ทราย เจริญปุระ ในบทบาทสุดท้าทาย ร่วมด้วย นพพล โกมารชุน, จักรกฤษณ์ อำมะรัตน์, เล็ก ไอศูรย์
แป๊วและพวกโกรธแค้นมากจึงได้พาลูกน้องในกลุ่มมาอีก 6 คนนั่นคือ ย้ง ชัย ชุ่ย ไมเคิล จั๊ว และ แหลม ดักฉุดแม่ลูกไปข่มขืนและนำน้ำมันท่อรถกรอกปากผึ้ง หลังจากเหตุการณ์นั้น ผึ้งกลายเป็นคนเสียสติจนต้องทำการผ่าตัดเพื่อรักษา แต่แล้วผึ้งก็กลายเป็นคนไร้ความทรงจำ ไร้ความรู้สึก และกลุ่มนักเลงต่างไม่โดนลงโทษ ถึงโดนลงโทษ แต่ก็ติดคุกไม่กี่ปีก็ออกมาเพราะมีอิทธิพลคุ้มหัว จึงทำให้มธุสรโกรธแค้นอย่างมาก เธอออกจากงานเสมียนไปเรียนเสริมสวย และได้รู้จักกับครูสอนแต่งหน้าชาวญี่ปุ่นที่ทำให้เธอรู้จักกับการฆ่า และทำให้เธอรู้จักคำว่า "ความพยาบาทเป็นของหวาน" และการล้างแค้นนั้นเป็นจุดเริ่มต้นให้มธุสรล่าทรชนที่ทำให้เธอกับลูกเป็นแบบนี้
https://www.facebook.com/teeneedotcom