ดราม่าซะแล้ว ! สมเกียรติจวกนาฏราช สับสนแยกรางวัลไม่ออก
หน้าแรกTeeNee บันเทิงดารา ข่าวดารา, ข่าวบันเทิง แนะนำ พรีวิว หนังดัง ดราม่าซะแล้ว ! สมเกียรติจวกนาฏราช สับสนแยกรางวัลไม่ออก
'สมเกียรติ'จวก'นาฏราช' สับสนแยกรางวัลไม่ออก
„เมื่อวันที่ 29 มิ.ย. นายสมเกียรติ อ่อนวิมล นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน และอดีตส.ว.สุพรรณบุรี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก วิจารณ์ถึงกรณีการแจกรางวัลนาฏราช เมื่อวันที่ 28 มิ.ย.ที่ผ่านมา ในหัวเรื่อง "ปัจฉิมลิขิต สืบเนื่องจากรางวัลนาฏราช" มีรายละเอียดที่น่าสนใจว่า...รางวัลนาฏราชเอารายการ "ข่าว" กับรายการ "เชิงข่าวสารและสาระบันเทิง" มาปนกัน ทำให้เกิดความสับสนระหว่าง "ผู้ประกาศข่าว" กับ "ผู้ดำเนินรายการเชิงข่าวสารและสาระบันเทิง" ซึ่งต่างกันมาก หวังว่าในอนาคตวงการโทรทัศน์ไทยและรางวัลนาฏราช จะมีความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องถ่องแท้เรื่อง "รายการข่าว" และ "ผู้ประกาศข่าว" ก่อนให้รางวัล“
„ยกตัวอย่าง : สรยุทธ สุทัศนจินดา คือผู้ดำเนินรายการเชิงข่าวสารและสาระบันเทิง (ไม่ใช่ผู้ประกาศข่าว), เขมสรณ์ หนูขาว คือผู้ประกาศข่าว (ไม่ใช่ผู้ดำเนิรายการเชิงข่าวสารและสาระบันเทิง)
"เรื่องเล่าเช้านี้" เป็นรายการเชิงข่าวสารและสารบันเทิง ไม่ใช่รายการข่าว. "รายการข่าวภาคค่ำ" และภาคอื่นๆ ของทุกช่อง คือรายการข่าวที่แท้จริง“
„ชาย เมืองสิงห์ เป็นนักร้องลูกทุ่ง ได้รับรางวัลเกียรติยศนาฏราชด้านวิทยุ นี่ก็สับสนอีก ชาย เมืองสิงห์ ไม่ใช่นักวิทยุกระจายเสียง อาจจะจัดรายการเพลงลูกทุ่งอยู่บ้าง แต่ไม่ใช่นักวิทยุกระจายเสียงเป็นอาชีพหลัก เป็นนักร้องลูกทุ่งศิลปินแห่งชาติให้รางวัลนาฏราชผิดอีกแล้ว!
ถ้ารางวัลนาฏราชจะให้รางวัลเกียรติยศด้านวิทยุกระจายเสียง ต้องให้กับนักจัดรายการวิทยุที่ทำงานสร้างสรรค์สังคมมายาวนาน เช่น พิชัย วาสนาส่ง, นายแพทย์ประสาน ต่างใจ, ปรีชา ทรัพย์โสภา, วิทยา ศุภพรโอภาส, มาโนช พุฒตาล, พี่ฉอด, พี่แดง-จันทรา ชัยนาม, รางวัลนาฏราช เป็นรางวัลอะไรกันแน่? เป็นรางวัลสำหรับงาน “วิทยุกระจายเสียง” และงาน “วิทยุโทรทัศน์” ทั้งสองสื่อใช่ไหม? เพราะเห็นมีรางวัลเกียรติยศนักวิทยุให้ชายเมืองสิงห์ แต่ก็ให้รางวัลเดียวคนเดียว ไม่มีรางวัลอื่นด้านวิทยุเลย หรือรางวัลนาฏราชเป็นรางวัลสำหรับสื่อโทรทัศน์สื่อเดียว เพราะมีสารพัดรางวัลเกี่ยวกับโทรทัศน์ คนดูสับสน! หมายเหตุ : ภาษาทางการ “วิทยุ” เรียกเต็มว่า “วิทยุกระจายเสียง” / “โทรทัศน์” เรียกเต็มว่า “วิทยุโทรทัศน์” ที่เรียกเช่นนี้เพราะว่าในทางวิชาการถือว่าทั้งสองสื่อใช้คลื่นวิทยุเหมือนกัน แต่ต่างย่านความถี่กัน โดย “โทรทัศน์” ใช้คลื่นวิทยุส่งภาพและเสียง ส่วนวิทยุใช้คลื่นวิทยุส่งเสียงอย่างเดียว ในปัจจุบันกฎหมายใหม่ใช้คำว่า “กิจการกระจายเสียง” แทนคำว่า “วิทยุกระจายเสียง” และใช้คำว่า “กิจการโทรทัศน์” แทนคำว่า “วิทยุโทรทัศน์” แต่คนทั่วไปมักนิยมใช้คำว่า“วิทยุ” สำหรับ “วิทยุกระจายเสียง” และใช้คำว่า “โทรทัศน์” แทนคำว่า “วิทยุโทรทัศน์”
สมเกียรติ อ่อนวิมล 29 มิถุนายน 2558“
https://www.facebook.com/teeneedotcom