ดารานักการเมือง : แซม ยุรนันท์ ภมรมนตรี


ประวัติ

นายยุรนันท์ ภมรมนตรี มีชื่อเล่นว่า แซม เกิดเมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2506 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรชายของ พลโทประยูร ภมรมนตรี หนึ่งในผู้ก่อการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 และนางเรณู ภมรมนตรี (นามสกุลเดิม: พิบูลภานุวัฒน์) รองนางสาวไทย ประจำปี พ.ศ. 2491 นายยุรนันท์สมรสกับ นางสาวมาริษา สุจริตกุล (ชื่อเล่น: มุก) มีบุตรชาย คือ ด.ช.ยุรการ และบุตรสาว คือ ด.ญ.ยุรริษา ซึ่งนายยุรนันท์และนางมาริษา ได้นำชื่อจริงของทั้งบุตรชายและบุตรสาว มาตั้งเป็นชื่อบริษัทของทั้งสองคนด้วย

นายยุรนันท์จบการศึกษาระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา จากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร จบการโฆษณา จากสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพณิชยการพระนคร จบปริญญาตรีจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จบปริญญาโท จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และกำลังศึกษาในระดับปริญญาเอก สาขารัฐประศาสนศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

 วงการบันเทิง
ในวงการบันเทิงนายยุรนันท์ได้มีผลงานมากมายทั้งด้านการแสดง พิธีกร และนักร้อง จนเป็นที่รู้จักในชื่อว่า "แซม ยุรนันท์"




เข้าสู่การเมือง
 
นายยุรนันท์ในฐานะที่ปรึกษา รมว.ศธ.
นายยุรนันท์ขณะหาเสียงเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครนายยุรนันท์เริ่มเล่นการเมืองด้วยการเข้าสังกัดพรรคไทยรักไทยใน พ.ศ. 2548

 ร่วมงานกับพรรคไทยรักไทย
 ผู้ช่วย น.ต.ศิธา ทิวารี
นายยุรนันท์เริ่มฝึกงานการเมืองในตำแหน่งผู้ช่วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (น.ต.ศิธา ทิวารี)

ดำรงตำแหน่ง ส.ส.สมัยแรกและรองโฆษกรัฐบาล
จากนั้นใน พ.ศ. 2548 นายยุรนันท์ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใน เขต 11 กรุงเทพมหานคร ในนามพรรคไทยรักไทย และได้รับเลือก โดยนายยุรนันท์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีด้วย

 ได้รับเลือกตั้งสมัยที่ 2 แต่เป็นโมฆะ
หลังจากนั้น พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่ นายยุรนันท์ลงสมัครรับเลือกตั้งใน เขต 3 กรุงเทพมหานคร ในนามพรรคไทยรักไทย และได้รับเลือก แต่ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ ต่อมาเกิดการรัฐประหารในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549

ย้ายไปร่วมงานกับพรรคพลังประชาชน หลังพรรคไทยรักไทยถูกยุบ
 ลงชิงตำแหน่ง ส.ส.อีกสมัย

หลังจากนั้นในการเลือกตั้งในวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 นายยุรนันท์ลงสมัครรับเลือกตั้งใน เขต 3 กรุงเทพมหานคร (ดินแดง, ห้วยขวาง, วังทองหลาง และ ลาดพร้าว) ในนามพรรคพลังประชาชน แต่ไม่ได้รับเลือก

 ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษา รมว.ศธ.
ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ต่อมาได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี นัดพิเศษว่า คณะรัฐมนตรีรับทราบการแต่งตั้งข้าราชการการเมือง โดยนายสมชายได้แต่งตั้งให้นายยุรนันท์ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ[1]

ต่อมาในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551 ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยว่า การจัดรายการ "ชิมไปบ่นไป" และ "ยกโขยง 6 โมงเช้า" ของ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ถือได้ว่าขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 267 และ มาตรา 182 วรรคหนึ่ง (7) ส่งผลให้ขาดคุณสมบัติการเป็นนายกรัฐมนตรี ด้วยมติเอกฉันท์ 9-0 และเมื่อความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 182 จึงเป็นเหตุให้รัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 180 วรรค 1 (1) จึงทำให้นายยุรนันท์ต้องยุติการปฏิบัติหน้าที่ทันที และในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ยุบพรรคพลังประชาชน จึงทำให้นายยุรนันท์ต้องย้ายไปสังกัดพรรคเพื่อไทย


ร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย
 ลงชิงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ต่อมาในช่วงบ่ายของวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2551 พรรคเพื่อไทยมีมติหลังการประชุมว่าจะส่งนายยุรนันท์ลงสมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในครั้งนี้ นายยุรนันท์ได้รับหมายเลข 10[2][3] โดยผลการเลือกตั้งนายยุรนันท์ได้รับ 611,669 คะแนน เป็นอันดับที่ 2




ผลงานในวงการบันเทิง

 ผลงานภาพยนตร์
  
จารุณี สุขสวัสดิ์ (มินตรา) และยุรนันท์ ภมรมนตรี (พชร) จากเรื่อง "สิ้นสวาท"
เธอของเรา ของเขา หรือของใคร (2536)
ดิฉันไม่ใช่โสเภณี (2536)
ดอกไม้ร่วงที่สันทราย (2535)
รักเถอะถ้าหัวใจอยากจะรัก (2533)
แรงฤทธิ์พิษสวาท (2533)
หัวใจห้องที่ 5 (2533)
เก่งจริงนะแม่คุณ (2532)
หนองบัวแดง (2531)
พยัคฆ์นางพญา (2531)
เศรษฐีเงินผ่อน (2531)
คนกลางเมือง (2531)
ตัณหาเถื่อน (2531)
ซอสามสาย (2531)
รักมหาเฮง (2531)
ตะลุยโรงหมอ (2531)
เพชรลุยเพลิง (2531)
วิวาห์จำแลง (2531)
เหยื่อตัณหา (2531)
ภุมรีสีทอง (2531)
เมียคนใหม่ (2530)
ไฟหนาว (2530)
ผู้พันเรือพ่วง (2530)
คาวน้ำผึ้ง (2530)
แรงปรารถนา (2530)
เมียนอกหัวใจ (2530)
ร่านดอกงิ้ว (2530)
ชะตาฟ้า (2530)
ปีกมาร (2530)
ตะวันเพลิง (2530)
ลุ้นอลเวง (2530)
ฟ้าสีทอง (2530)
วุ่นที่สุด สะดุดรัก (2530)
สิ้นสวาท (2529)
เสี้ยนเสน่หา (2529)
น.ส.กาเหว่า (2529)
ชมพูแก้มแหม่ม (2529)
เมียแต่ง (2529)
ไปรษณีย์สื่อรัก (2529)
นางฟ้ากับซาตาน (2528)
นางเสือดาว (2528)
แก้วกลางดง (2528)
กำแพงหัวใจ (2524) 

ผลงานละครโทรทัศน์
ตราบสิ้นดินฟ้า (2551) [5]
สายใยรัก (2546)
แม่ยายที่รัก (2545)
จอมคนปล้นผ่าโลก (2545)
มาดามยี่หุบ (2545)
ใต้ร่มไม้เลื้อย เรือนศิรา (2543)
เงา (2543)
ประกาศิตเงินตรา (2543)
น้ำผึ้งขม (2543)
รักลวง (2542)
ดั่งไฟใต้น้ำ (2542)
รังหนาว (2542)
สลักจิต (2542)
นางบาป (2541)
ไฟริษยา (2541)
บังเกิดเกล้า (2541)
สาวใช้ไฮเทค (2540)
สวรรค์ยังมีชั้น (2540)
ฟ้าหลังฝน (2540)
ดวงใจพิสุทธิ์ (2540)
ชีวิตเหมือนฝัน (2539-2540)
สาบนรสิงห์ (2539)
ก้านกฤษณา (2539)
แผ่นดินของเรา (2539)
เรือมนุษย์ (2538)
พรหมไม่ได้ลิขิต (2538)
ความรักสีดำ (2538)
หัวใจลายคราม (2538)
มายาตวัน (2538)
กระเช้าสีดา (2537)
ปีกมาร (2537)
แสงสูรย์ (2537)
บาดาลใจ (2536)
มฤตยูยอดรัก (2536)
เหลี่ยมลูกไม้ (2536)
คนละโลก (2536)
คนบาป (2535)
ละครสั้น ปากกาทอง ตอน เลือดก้อนหนึ่ง (2535)
สองฝั่งคลอง (2535)
แม่หญิง (2534)
แม่เบี้ย (2534)
อุ้มบุญ (2533)
เคหาสน์สีแดง (2532)
เมียหลวง (2532)
สวรรค์เบี่ยง (2531)
เก้าอี้ขาวในห้องแดง (2528)
เมื่อรักร้าว

 พิธีกรรายการโทรทัศน์
7 สีคอนเสิร์ต
เที่ยงวันกันเอง
ลุ้นข้ามโลก
ห้าให้ (ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น 5 มหารวย)
หลังคาเดียวกัน




ขอขอบคุณข้อมูล
วิกิพีเดีย


เครดิต :
เครดิต : ที่นี่ดอทคอม บันเทิงดารา


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์