ละครพีเรียดในความทรงจำ : สี่แผ่นดิน


สี่แผ่นดิน (Four Reigns) เป็นนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ไทย ในช่วงสมัย รัชกาลที่ 5 ถึง รัชกาลที่ 8 แต่งโดยหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 13 ของไทย

        นับเป็นนวนิยายที่มีชื่อเสียงมากที่สุดเล่มหนึ่งของ เป็นเรื่องราวของพลอย (ในละครเรียกว่า แม่พลอย) ซึ่งมีชีวิตในช่วงรัชกาลที่ 5 - รัชกาลที่ 8 โดยผู้ประพันธ์ได้เขียนเรื่องราวทีละตอนลงหนังสือพิมพ์สยามรัฐ โดยมิได้อาศัยโครงเรื่องแต่อย่างใด เพียงทบทวนความเดิมจากตอนที่แล้วก็เขียนต่อไปได้ทันที ผู้ประพันธ์เคยให้สัมภาษณ์ตอนหนึ่งว่าเมื่อได้ให้ชีวิตกับตัวละครในเรื่องที่เขียนแล้ว ตัวละครแต่ละตัวก็เหมือนมีชีวิตเป็นของตัวเอง ผู้ประพันธ์เป็นเพียงคนถ่ายทอดเรื่องราวของชีวิตตัวละครเหล่านั้นออกมา

บทประพันธ์ในหน้าหนังสือพิมพ์ด้งกล่าวได้รับการตอบรับจากสังคมอย่างกว่างขวาง คราวหนึ่งถึงตอนที่แม่พลอยตั้งครรภ์แพ้ทองก็มีคนส่งมะม่วงมาให้ถึงโรงพิมพ์ นักวิจารณ์หลายท่านเช่น ทมยันตี ชมเชยแกมเหน็บแนมว่า ผู้ประพันธ์เข้าใจหัวใจสตรีเพศที่เป็นตัวเอกของเรื่องได้เป็นอย่างดี ขนาดที่นักเขียนที่เป็นผู้หญิงเองหลายคนไม่อาจเทียบได้




การวิพากษ์วิจารณ์

       นักวิจารณ์กล่าวว่าสี่แผ่นดินนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ที่เป็นเป็นเครื่องสะท้อนประวัติศาสตร์ยุคใหม่ของไทยได้ดียิ่ง แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่สะท้อนออกมานั้นจำกัดอยู่ในมุมมองที่แม่พลอยรับรู้ได้ เนื่องด้วยแม่พลอยเป็นคนในรั้วในวังและเป็นสตรีที่ไม่มีบทบาททางการเมืองสิ่งที่สะท้อนออกมาก็เป็นเรื่องราวของกลุ่มชนชั้นนำในสมัยดังกล่าว

นอกจากนี้ยังได้มีการวิจารณ์ไปถึงบุคคลิกของตัวละคร ว่าตาอ๊อดนั้นเหมือน ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ผู้ประพันธ์นั่นเอง ส่วนตาอั้น ถอดแบบมาจากจากพี่ชายของผู้ประพันธ์คือ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช ทั้งนี้แม่พลอยตามเนื้อเรื่องมาจาก๊กฟากคะโน้น อันหมายถึงตระกูลบุนนาค อันเป็นหนึ่งในต้นตระกูลของผู้ประพันธ์ด้วย จึงนับได้ว่าแม่พลอยนี่ก็ถือเป็นญาติข้างหนึ่งของผู้ประพันธ์ ซึ่งในบทโต้ตอบในหนังสือพิมพ์ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ก็ได้ยอมรับข้อเท็จจริงดังกล่าว

ในบทประพันธ์ยุคต่อมาเช่น ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน ของ วินทร์ เลียววาริณ พบว่ามีการดำเนินเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์กบฎบวรเดช คล้ายกับในสี่แผ่นดิน คล้ายกับตาอ้นและตาอั้นที่ต้องเป็นศัตรูกันเพราะสถานการณ์การเมืองของบ้านเมือง

การวิจารณ์ล่าสุดโดย สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ก่อนที่รัฐบาลไทยจะเสนอชื่อ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ให้ยูเนสโกพิจารณาเป็นบุคคลสำคัญของโลก ในปี พ.ศ. 2552 มีความตอนหนึ่งว่า "สี่แผ่นดินเป็นนวนิยายที่ใช้ล้างสมองให้คนเห็นว่าประชาธิปไตยเป็นของเลว ราชาธิปไตยเป็นของวิเศษ ชาติวุฒิสำคัญยิ่งกว่าคุณวุฒิของสามัญชนคนธรรมดา"


หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช



ละครโทรทัศน์ ละครเวที
เคยสร้างเป็นละครโทรทัศน์และละครเวทีหลายครั้ง

 ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2504
สำหรับละครโทรทัศน์ครั้งแรกทางช่อง 4 ประมาณ พ.ศ. 2504 นำแสดงโดย สุธัญญา ศิลปเวทิน และ อาคม มกรานนท์ ร่วมด้วย ชูศรี มีสมมนต์ กำกับโดย สุพรรณ บูรณพิมพ์

ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2515
ครั้งที่สองทางช่อง 5 ปี 2515-16 นำแสดงโดย สุมาลี ชาญภูมิดล และประพาส ศกุนตนาค ร่วมด้วย รจิต ภิญโญวนิชย์

 ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2525
ครั้งที่ 3 ทางช่อง 5 นำแสดงโดย นันทวัน เมฆใหญ่ และ ภิญโญ ทองเจือ[2] ร่วมด้วย นันทพร อัมผลิน, นพพล โกมารชุน, อุทุมพร ศิลาพันธ์, วิฑูรย์ กรุณา, ฤทัยรัตน์ อมตะวณิชย์, ผดุงศรี โสภิตา, พิไลพร เวชประเสริฐ

 ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2534
และครั้งที่ประสบความสำเร็จอย่างใหญ่หลวงสูงสุดคือเมื่อ พ.ศ. 2534 นำแสดงโดย จินตหรา สุขพัฒน์ นางเอกภาพยนตร์และนางเอกละครอันดับหนึ่งของประเทศไทย และ ฉัตรชัย เปล่งพานิช ทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์ทีวีสีช่อง 3

ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2546
ครั้งล่าสุดทาง โมเดิร์นไนน์ทีวี เมื่อปี พ.ศ. 2546 (นำแสดงโดย สิริยากร พุกกะเวส และ ธีรภัทร์ สัจจกุล กำกับโดย หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล) โดย บริษัท ทูแฮนส์ จำกัด ซึ่งได้รับคำชมในเรื่องฉากและเครื่องแต่งกายที่ทำได้อย่างสมจริงเนื่องจากมีทุนใช้ในการถ่ายทำสูงมาก


 



เครดิต :
เครดิต : ที่นี่ดอทคอม บันเทิงดารา


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์