รำลึก มิตร ชัญบัญชา : อินทรีทอง ผลงานเรื่องสุดท้ายของ มิตร ชัยบัญชา



        อินทรีทอง เป็นภาพยนตร์ไทย 35 ม.ม เสียงในฟิล์ม ที่สร้างจาก บทประพันธ์ของ เศก ดุสิต โดย สมนึก เหมบุตร ซึ่งมิตร ชัยบัญชาขอเป็นผู้กำกับการแสดงด้วยตนเองเป็นครั้งแรก มิตร ชัยบัญชา รักและหลงใหลในบท อินทรีแดง อย่างมาก ถึงขนาดยอมเสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย เพื่อให้งานแสดงออกมาสมจริงสมจัง จนเป็นสาเหตุให้มิตรเสียชีวิต ขณะถ่ายทำฉากอินทรีทองโหนบันไดเชือกเฮลิคอปเตอร์เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2513 เวลา 16.21น.

อินทรีทอง ออกฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 ที่โรงภาพยนตร์เพชรรามา

          การถ่ายทำฉากสุดท้ายของเรื่อง อินทรีทองตอนที่ โรม ฤทธิไกร (มิตร ชัยบัญชา) อินทรีแดงตัวจริงต้องแสดงเป็นอินทรีทอง เพื่อตามไล่ล่า ภูวนาท อินทรีแดงตัวปลอม (ครรชิต ขวัญประชา) ที่ออกมาสร้างความสับสนให้กับบ้านเมืองและโรม ฤทธิไกรยังต้องกวาดล้างเหล่าร้ายไผ่แดงที่มีบาคิน (อบ บุญติด) เป็นหัวหน้าโดยมีวาสนา (เพชรา เชาวราษฏร์) เป็นผู้ช่วย และฉากสุดท้ายของเรื่อง วาสนาจะต้องนำเฮลิคอปเตอร์มารับตัวโรม ฤทธิไกรที่แต่งเป็นชุดอินทรีแดง เพื่อให้เห็นว่า อินทรีแดงตัวจริงยังมีชีวิตอยู่ และนี่คือฉากสุดท้ายในชีวิตจริงของมิตร ชัยบัญชา



 




การถ่ายทำฉากสุดท้ายของเรื่อง อินทรีทอง
เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2513 ก่อนมิตรจะตกลงมาเสียชีวิต
(ภาพจาก thaifilm)



บทประพันธ์ชุด อินทรีแดง ของ เศก ดุสิต เขียนขึ้นในระหว่างปี พ.ศ. 2498-2513 บทประพันธ์ได้รับความนิยมจากนักอ่านอย่างมาก มีรายชื่อตอนดังนี้

  • มังกรขาว
  • พรายมหากาฬ
  • จ้าวนักเลง
  • ภูตมรณะ
  • ปีศาจดำ
  • ทับสมิงคลา
  • อวสานอินทรีแดง
  • อินทรีคืนรัง สร้างเป็นภาพยนตร์โดยใช้ชื่อว่า อินทรีทอง
  • มนุษย์ซาตาน
  • ตุ๊กตาเริงระบำ


        ภาพยนตร์ที่มิตรรับบทเป็นอินทรีแดงอีก 5 ตอนคือเรื่อง ทับสมิงคลา (2505), อวสานอินทรีแดง (2506), ปีศาจดำ (2509), จ้าวอินทรี (2511), และ อินทรีทอง (2513) ซึ่ง มิตร ชัยบัญชา เสียชีวิตขณะถ่ายทำฉากโหนบันไดเชือกเฮลิคอปเตอร์ในภาพยนตร์เรื่องนี้ เนื่องจากการผิดพลาดทางเทคนิคที่ทำให้การถ่ายทำไม่เป็นไปตามที่กำหนด





ขอบคุณคลิปจากยูทูป และข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


เครดิต :
เครดิต : ที่นี่ดอทคอม บันเทิงดารา


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์