ไตวายแต่ไม่ตายไว

โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย

           โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย

          เป็นโรคที่สร้างความทุกข์ทรมานให้กับผู้ป่วย และทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้เนื่องจากผู้ป่วยเหล่านี้เป็นโรคของไตที่ไม่สามารถทำการกำจัดของเสียออกจากร่างกายได้เพียงพอ ผู้ป่วยไม่อาจจะมีชีวิตรอดต่อไปนี้ นอกจากจะมีการช่วยขจัดของเสียออกจากร่างกายแทนไต โดยการล้างท้อง (Peritoneal Dialysis) และการฟอกเลือดโดยใช้เครื่องไตเทียม (Hemodialysis) ซึ่งการกระทำทั้ง 2 วิธี ต้องทำเป็นประจำไม่มีโอกาสหยุดทำได้ ทำให้ผู้ป่วยต้องทนทุกข์ทรมานอยู่กับการล้างไต ฟอกเลือดเป็นระยะ ๆ ยิ่งไปกว่านั้นผู้ป่วยจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาโดยวิธีการเหล่านี้อย่างมหาศาล
ในปัจจุบันวิวัฒนาการทางการแพทย์เจริญก้าวหน้ามากขึ้น มีการผ่าตัดเปลี่ยนไตได้เป็นผลสำเร็จ ซึ่งการผ่าตัดเปลี่ยนไตนี้เป็นวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วย โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย เนื่องจากการผ่าตัดเปลี่ยนไตมีข้อดีกว่าการรักษาโดยการล้างท้องหรือฟอกเลือดโดยใช้ไตเทียมคือ
- คุณภาพชีวิตดีขึ้น สามารถทำงานได้ตามปกติ ออกกำลังกายเล่นกีฬาได้ เรื่องอาหารไม่ต้องจำกัด หรืองดอาหารบางประเภท ภาวะซีด และภาวะสมดุลของเกลือแร่ในร่างกายดีขึ้น อาการอ่อนเพลียดีขึ้นสามารถมีบุตรได้

- ผลในระยะยาวค่าใช้จ่ายถูกกว่าการรักษาโดยวิธีการล้างท้อง และฟอกเลือด



แหล่งที่มาของไตที่จะนำมาปลูกถ่ายให้กับผู้ป่วย
 
โดยทั่วไปจะได้มาจาก 2 แหล่ง คือ
 
1. ผู้ที่เสียชีวิตใหม่ ๆ (Cadaveric Donor)
 
             ได้แก่ผู้ที่มีลักษณะ    ดังนี้
 


- ผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุทางสมอง และเกิดภาวะ                  สมองตาย (ตาม    หลักเกณฑ์การวินิจฉัย                  ภาวะสมองตายของแพทยสภา)


- ผู้บริจาคอายุไม่เกิน 60 ปี สุขภาพแข็งแรง                  ปกติดี


- ไม่มีประวัติโรคไต, ไตทำงานปกติ


- ไม่มีโรคที่เป็นข้อห้ามในการบริจาค                  อวัยวะ  เช่น โรคติดเชื้อ โรคเอดส์,
                  โรคมะเร็ง (ยกเว้นมะเร็งของสมอง) 
                - ญาติผู้เสียชีวิตยินยอมบริจาคไต โดยลง                   นามแสดงความยิน  ยอมไว้ในเอกสาร                   ของทาง ร.พ
                -  ผลการตรวจเนื้อเยื่อของผู้บริจาคเข้ากัน                   ได้กับผู้รับไต


2. ผู้บริจาคไตที่ยังมีชีวิตอยู่ (Living-related donor)
              ผู้ที่เหมาะสมจะบริจาคไตที่ยังมีชีวิตอยู่จะต้องมีคุณสมบัติ
ดังนี้คือ



- เป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดอย่าง                  ใกล้ชิดกับผู้ที่จะรับ ไต ได้แก่ พี่น้อง พ่อ                  แม่ บุตรธิดา


- สามี ภรรยา (Emotional related)


- อายุระหว่าง 20-60 ปี


- ต้องยินยอมบริจาคไตโดยสมัครใจ


- มีหมู่เลือดเดียวกันกับผู้รับไต


- มีผลการตรวจเนื้อเยื่อ (HLA) เหมือนกันทุก                  ตัวหรือเหมือนกัน ครึ่งหนึ่งกับผู้รับไต


- ไม่มีโรคที่เป็นข้อห้ามในการบริจาคอวัยวะ
                  หรือไม่มีโรคที่เป็น                      
              ข้อห้ามต่อการดมยาสลบผ่าตัด เช่น โรคหัวใจ, โรคปอด, โรค                      ความดันโลหิตสูง, โรคติดเชื้อ HIV, โรคมะเร็ง เป็นต้น


- เป็นผู้ที่มีไต ท่อไต เส้นเลือดของไต และ                  หน้าที่ของไตเป็นปกติ


ขอขอบคุณ (อ้างอิง)





โดย น.อ. ฉัตรชัย สุนทรธรรม
กองศัลยกรรม รพ. จันทรุเบกษา พอ.บนอ.
ร.ร. การบิน กำแพงแสน นครปฐม



อวัยวะภายในของร่างกาย

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์