กันตนารอบทเสร็จเตรียมทำ พิกุลแกมเกดแก้ว


กันตนารอบทเสร็จเตรียมทำ พิกุลแกมเกดแก้ว

มีโปรเจ็กต์จะทำละครพีเรียดฟอร์มยักษ์ “พิกุลแกมเกดแก้ว” จากบทประพันธ์ของ “จุลลดา ภักดีภูมินทร์” มานาน 

ทั้งนี้ “ตุ๊กตา” จิตรลดา ดิษยนันทน์ บอสค่ายกันตา เผยถึงความคืบหน้าว่า

“ตอนนี้รอบทจากทางอาแดง (อ.ศัลยา) ได้มา 24 ตอนแล้ว สนุกมาก เรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ มีการเมืองผสมนิดหน่อย แต่เส้นเรื่องจะเป็นความรัก มีแง่คิดให้คนดู เป็นแนวที่อยากทำมาก แต่ทำค่อนข้างยากเพราะต้องสร้างเมืองทั้งเมืองขึ้นมา เลยบอกอาแดงว่าต้องเขียนบทให้จบก่อนแล้วถึงจะทำ”

ทำเรื่องเกี่ยวกับช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 จะล่อแหลมหรือเปล่า 

“เส้นเรื่องเกี่ยวกับความรักแต่มีการเมืองเป็นส่วนประกอบ จริง ๆ มีโครงการจะทำก่อนที่จะเกิดเรื่องราวทางการเมือง อยากทำละครที่ปลุกจิตสำนึกให้คนไทยรักกัน เลยโทร.หาอาแดงบอกว่าอยากทำเรื่องนี้ อาแดงตอบกลับมาว่า ขนลุกเลยเพราะหนังสือเรื่องนี้อยู่ตรงหน้าพอดี อาแดงก็ชอบเรื่องนี้เหมือนกันค่ะ”


แผนผังตัวละครใน 'พิกุลแกมเกดแก้ว'



กันตนารอบทเสร็จเตรียมทำ พิกุลแกมเกดแก้ว

เนื้อเรื่องย่อ

พระสิริราชเสนาทะเลาะกับกรเรื่องไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงการปกครองทำให้พระสิริราชเสนาล้มป่วยอย่างหนักและเสียชีวิตใน เวลาต่อมาพระศิริราชามาตย์ก็ออกจะเคืองๆกับน้องชาย(กรี)และน้องเขย(โรจน์)ที่ไปเห็นด้วยและสนับสนุนคณะราษฎ์ประกอบกับน้องสาว(กัทลี)ที่คบหาอยู่กับร้อยโทเจิมและกำลังจะแต่งงานกันพระศรีก็ไม่ค่อบชอบหน้าร้อยโทเจิมเพราะพี่ชายไปทำกิริยาที่ำไม่รู้จักที่ต่ำที่สูงกับข้าราชการเจ้าชั้นผู้ใหญ่ การเปลี่ยนแปลงการปกครองอะไรๆก็ทำให้พระศรีหงุดหงิดใจไปเสียหมดสำหรับคนที่มีความจงรักภักดีใกล้ชิดกับเจ้าอยู่ในสายเลือด
   
  กรีกับโรจน์แรกๆก็ถูกคือกันอยู่ในเรื่องสนับสนุนคณะราษฏ์ ต่อมาคณะราษฏ์ก็ขัดแย้งกันขึ้นทั้งสองล้วนแต่มีคนที่ศรัทธาเลื่อมใสกันคนละคน กรีนั้นศรัทธาในตัวหลวงประดิษฐ์มนูญธรรมมากเขาเห็นว่าการที่บ้านเมืองจะดำเนินไปด้วยประชาธิปไตยได้นั้นต้องมีการจัดระเบียบโครงร่างเศรษฐกิจให้ราษฏรก่อน แต่เกื้อเห็นว่าควรจะจัดการเลือกตั้งให้ผู้แทนเป็นคนของประชาชนจริงๆก่อนจึงจะดำเนินไปได้ ด้วยเหตุนี้ทั้งกรีกับโรจน์ที่เคยกอดคอกันก็กลับมาแตกคอกันเพราะเรื่องนี้ ซึ่งงแผนพัฒนาเศรษฐกิจของนายปรีดีนี้มีเสนอแนวทางการปฏิรูปและเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างมากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงวิจารณ์ข้อเสนอของหลวงประดิษฐ์มนูธรรมอย่างจริงจัง ขณะที่ฝ่ายคณะราษฎรเองก็แตกแยกทางความคิด 
    
ต่อมาจึงเกิดกบฎวรเดชขึ้นนับเป็นการกบฏครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย พระศรีเห็นด้วยและเชียร์ให้พระองค์เจ้าบวรเดชทำการปฎิวัติสำเร็จ แต่ก็ไม่สำเร็จ พระศรีรู้สึกหมดหวังมากจึงยอมให้กัทลีแต่งงานกับร้อยโทเจิม แต่ความโกรธเคืองของพระศรถูกโหมด้วยนายกรี 12 เมษายน พ.ศ. 2476 วันเผาศพพระยาสิริราชเสนา นายกรีไม่ได้ไปร่วมด้วยเพราะต้องไปส่งนายปรีดี พนมยงค์ที่ท่าเรือเพราะนายปรีดีถูกบังคับให้เดินทางออกจากประเทศไทยในข้อกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิตส์จากเค้าโครงร่างเศรษฐกิจ
    ส่วนเกื้อนั้นไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด เกื้อและสุพรรณมีลูกคนแรกชื่อเกดทอง ลูกคนที่สองเพิ่งเกิดในช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครองนี้ ชื่อว่าพิกุลกาจญน์ ต่อมาเกื้อต้องไปทำงานเป็นทูตอยู่ต่างประเทศจึงเอาสุพรรณและเกดทองไปด้วย ส่วนพิกุลให้ยายเข่งและพระศรเลิ้ยงดู
     2 มีนาคม พ.ศ. 2477  พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวสละราชสมบัติ จึงทำให้พระศรีราชามาตย์หมดหวังกับชีวิต พระศรีราชามาตย์ตัดสินใจที่จะออกบวชไม่สึกเลยตลอดชีวิต กลอยใจบุตรสาวของพระศรีกลับมา กลอยใจคือลูกของพระศรีตอนพระศรีทำงานในวังส่วนภรรยาเสียชีวิตไปเมื่อกลอยใจ8ขวบ พระศรีจึงยกกลอยใจให้กับเสด็จพระองค์นึงตั้งแต่ยังเล็กๆ กลอยใจกลับมาช่วยยายเข่งเลิ้ยงดูพิกุล กลอยใจมีผู้ชายที่คบหากันอยู่ชื่อมิ่งขวัญ ส่วนยายเข่งมีหลานชายชื่อยศ ยศมักจะชอบมาเล่นกับพิกุลประจำ
     5 มกราคม พ.ศ.2481 โรจน์และม.ร.ว.มิ่งขวัญถูกจับกุมเป็นนักโทษการเมืองและถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิต กัลยาก็เพิ่งท้องอ่อนๆ
ทำให้กัลยาเสียใจเป็นอย่างมากและล้มป่วย กัลยาคลอดบุตรออกมาให้ชื่อว่ากริช กัลยาเป็นโรคฝีในท้องประกอบกับมีความเสียใจที่สามีถูกจับ ทำให้ร่างกายที่เจ็บป่วยแย่ลงสุขภาพจิตใจก็บอบซ้ำไม่มีเรี่ยวแรงจะทำอะไร ยายเข่ง กลอยใจและพิกุลจึงช่วยกันดูแลกริชตั้งแต่ยังเล็กๆ พิกุลถึงเป็นเด็กแต่ก็มีสัญชาตญานความเป็นแม่มากทำให้กริชจะไปไหนจะเล่นอะไรก็ตัวติดอยู่กับพิกุล พิกุลก็มีความรักความผูกพันธ์กับยายเข่งและกลอยใจมาก

     ครั้นล่วงเลยมา4ปีเกื้อและสุพรรณกลับมาเมืองไทยไม่ได้เพราะติดสงคราม เกื้อและสุพรรณมีลูกกันที่ต่างประเทศอีก1คนชื่อแก้วสุวรรณ เกดทองอายุห่างจากพิกุล3ปี พิกุลอายุห่างจากแก้วสุวรรณ2ปี

      จอมพล ป. พิบูลสงคราม ก็ได้ขึ้นสู่อำนาจและดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี กรีได้เป็นรัฐมนตรีอยู่สมัยหนึ่ง กรีและสิริเลิศมีลูกชายด้วยกัน1คนชื่อสรไกร ช่วงจอมพลป.พิบูลสงครามดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้น เจิมกับกัทลีก็รุ่งเรืองเพราะประจบเก่ง ไม่ว่าท่านผู้นำจะทำอะไรกัทลีก็จะทำตามไปด้วยเสียทุกอย่าง
        8 ตุลาคม พ.ศ. 2483 เมื่อคณะนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง รวมทั้งประชาชนร่วมกันเดินขบวนเรียกร้องรัฐบาลเรียกเอาดินแดนคืนจากฝรั่งเศสจากเหตุการณ์ ร.ศ. 112 เช่น เสียมราฐ พระตะบอง จำปาศักดิ์ เป็นต้น จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและผู้บัญชาการทหารสูงสุดในขณะนั้น ได้ส่งทหารข้ามพรมแดนเข้าไปยึดดินแดนคืนทันที ท่ามกลางกระแสชาตินิยมอย่างหนัก เพลงปลุกใจในเวลานั้นได้ถูกเปิดอย่างต่อเนื่องใช้วิทยุกรอกหูนิสิตนักศึกษาอยู่ทุกวันขนาดเด็กอย่างพิกุลก็ยังร้องตามเพลงได้ กรณีพิพาทอินโดจีน การต่อสู้ยังคงดำเนินไปถึงปลายเดือนมกราคม พ.ศ. 2484 ไม่มีทีท่าว่าจะสงบ ทางญี่ปุ่นแสดงเจตจำนงเข้ามาไกล่เกลี่ยความขัดแย้ง เหตุการณ์ได้จบลงโดยที่ฝรั่งเศสได้มอบดินแดนบางส่วนคืนให้แก่ไทย ฝ่ายไทยจึงจัดการปกครองเป็น 4 จังหวัด คือ จังหวัดพิบูลสงคราม จังหวัดพระตะบอง จังหวัดนครจัมปาศักดิ์ และจังหวัดลานช้าง ส่งผลให้ญี่ปุ่นเข้ามายึดครองประเทศไทย ขณะเดียวกัน ทางสหรัฐอเมริกา ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช

 เอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา ไม่อาจยอมรับการประกาศเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นของรัฐบาลไทย และได้ประกาศขบวนการเสรีไทยขึ้น

       ในวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2485 รัฐบาลไทยก็ได้ประกาศสงครามกับอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศสอย่างเต็มตัว 28 มกราคม พ.ศ. 2485 ต่อมาประเทศไทยได้เซ็นสัญญาร่วมรบกับญี่ปุ่นจึงมาตั้งทัพในไทยฐานะพันธมิตร 

       เกิดคำขวัญ"เชื่อผู้นำ ชาติพ้นภัยขึ้น"โดยจอมพลป.ออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย "รัฐนิยม" หลายอย่าง เช่นการให้สวมหมวก เปลี่ยนเพลงชาติ เปลี่ยนชื่อประเทศจากสยามเป็นประเทศไทย เลิกเคี้ยวหมาก ห้ามใส่เกี๊ยะ เปลี่ยนภาษาไทยให้อ่านง่ายขึ้น
       กรีออกจากงานราชการมาสร้างโรงงานน้ำตาลได้อยู่พักหนึ่งแต่ก็ไปไม่รอด รัฐบาลจอมพลป.แพ้คะแนนเสียงเรื่องสร้างเมืองเพชรบูรณ์ พันตรีควง อภัยวงศ์จึงมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน
       โรจน์และม.ร.ว.มิ่งขวัญถูกปล่อยตัวจากนักโทษการเมือง โรจน์ตายในคุกด้วยโรคไข้รากสาด ม.ร.ว.มิ่งขวัญก็หมดอาลัยในชีวิต มารดาเสียชีวิต ทรัพย์สินก็ไม่เหลือติดตัว ไม่กล้ามีหน้ากลับไปพบกลอยใจ 

       เสาร์เพื่อนสนิทม.ร.ว.มิ่งขวัญทำงานเป็นนักหนังสือพิมพ์เสาร์ไม่เข้าข้างใคร ต่อมายศได้มีโอกาสเรียนรู้การต่อสู้ชีวิต อุดมคติทางการเมืองต่างๆจากเสาร์
        กัลยาเมื่อรู้ว่าโรจน์เสียชีวิตในคุก กัลยาจึงล้มป่วยหนักและชีวิตในเวลาต่อมา ส่งผลให้ทุกคนเวทนาสงสารกริชที่เสียพ่อแม่ไปตั้งแต่ยังเล็ก

        สงครามโลกครั้งที่2จะสิ้นสุดลง
-อิตาลี มุโสลืนี ถูกกลุ่มต่อต้านระบบเผด็จการฟาสซิสม์ยิงตายและลากเอาศพขึ้นห้อยหัวลงที่จตุรัส เปียเซาเล ลอริโต 28เมษายน พ.ศ.2488
-เยอรมัน ฮิตเล่อร์ฆ่าตัวตายในบ่อเกอร์ลึก 30ฟุต 30เมษายน พ.ศ.2488
ฝ่ายสัมพันธมิตรจึงพ่ายแพ้ต่อฝ่ายอักษะ
-ญี่ปุ่น ถูกอเมริกาขนระเบิดมาลงที่ฮิโรชิมา 6 สิงหาคม พ.ศ.2488

         หลังสิ้นสุดสงครามเกื้อและสุพรรณกลับมาเมืองไทยพร้องลูก2คน เกื้อและกรีภูมิใจที่ได้เป็นเสรีไทยทั้งคู่ เกื้อและสุพรรณกลับมาก็มีความรู้สึกว่ารักพิกุลน้อยกว่าเกดทองและแก้วสุวรรณเนื่องจากไม่ได้มีความใกล้ชิด ส่วนตัวพิกุลนั้นก็รู้สึกจะเขินๆกับพ่อและแม่ที่แท้จริง ที่จริงพิกุลก็ไม่ได้ขาดอะไรแค่ยายเข่งและพี่กลอยใจพิกุลก็ได้รับความอบอุ่นมากพอแล้ว

         กลอยใจไม่ได้ทำงาน บริวารในบ้านก็มีมากมายเงินทองเริ่มร่อยหลอวันนึงกลอยใจให้ยายหงิมไปขายทองก็ได้พบเจอกับกบฎอั้งยี่ ต่อมากบฏอั้งยี่ก็ถูกปราบไปหมด

         พระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลพระองค์เสด็จนิวัติพระนครครั้งแรกภายหลังทรงราชย์เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 และครั้งที่สองเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2488 ราษฎรทั้งคนไทยและคนจีนในประเทศไทยมีความปลื้มปิติยินดีอย่างยิ่ง

         9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระองค์เสด็จสวรรคตด้วยทรงต้องพระแสงปืนสร้างความเศร้าโศกเสียใจให้แก่ราษฎรมาก แม้กระทั่งผู้ชายอกสามศอกหลายๆคนก็ยังต้องเสียน้ำตา ต่อมามีคนไปตะโกนในโรงหยังว่า"ใครฆ่าในหลวง"คนตอบชื่อนายยกรัฐมนตรีในสมัยนั้นทำให้กรีแค้นใจเป็นอย่างมากเพราะมีความเลื่อมใสในนายกรัฐมนตรีผู้นี้

      เหตุการณ์ จะดำเนินต่อไปอย่างไรมาร่วมติดตามกันต่อไป..... ในพิกุลแกมเกดแก้ว


ขอบคุณข่าวจาก ข่าวสด

ข้อมูล เรื่องย่อ และ ภาพแผนผังตัวละคร ประกอบจาก 

khunyingaobcoey.bloggang.com


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์